โรคหัวใจและหลอดเลือดหัวใจ เป็นโรคที่คนไทยเป็นและตายจากโรคนี้มากและเพิ่มขึ้นทุกปี เกิดจากมีลิ่มเลือดหนืดๆ ไปอุดในเส้นเลือด ทำให้ออกซิเจนที่จะเข้าไปเลี้ยงหัวใจไม่พอทำให้หัวใจขาดเลือด
สาเหตุเกิดจากความเคยชินในชีวิตของคนในสังคมปัจจุบัน โดยเฉพาะสังคมเมืองใหญ่ๆ มีวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป มีอาหารการกินที่แสนสะดวก หาซื้อได้ตามร้านสะดวกซื้อ เก็บอยู่ในซองที่ทันสมัยเพียงนำไปต้มน้ำเดือดๆ เพียง 5 นาที ก็สามารถฉีกซองกินได้ทันทีเมื่อเดินทางถึงออฟฟิศ
บางคนกินเสร็จก็ของีบกลางวันซักครึ่งชั่วโมง เพราะตำราสุขภาพบอกว่าจะดีกับสุขภาพ เลิกงานกว่าจะกลับถึงบ้านบางทีก็ค่ำมืด เหน็ดเหนื่อยมากก็ไม่อยากทำอะไรอีกแล้ว จึงขาดการออกกำลังกาย บางท่านก็นิยมสูดน้ำมันทาร์จากมวนบุหรี่
พ.ศ.2529 กระทรวงสาธารณสุขได้รับงบประมาณเพื่อดำเนินงานทั้งหมดของกระทรวงเป็นเงินประมาณ 9,447 ล้านบาท แต่เฉพาะโรคหลอดลมอักเสบและโรคถุงลมในปอดพอง ซึ่งมีส่วนเกี่ยวพันกับการสูบบุหรี่นั้น ต้องใช้เงินในการรักษาถึงปีละประมาณ 4,670 ล้านบาท (ยังไม่รวมถึงโรคอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสูบบุหรี่)ทั่วโลกมีคนตายจากการสูบบุหรี่ถึงปีละ 10 ล้านคน มากกว่าจำนวนคนตายจากสงคราม อุบัติเหตุ และโรคอื่นๆทุกโรครวมกัน! จึงไม่น่าแปลกใจ เมื่อองค์การอนามัยโลกประกาศว่า
“การสูบบุหรี่ เป็นสาเหตุสำคัญที่สุดของปัญหาสาธารณสุขโลกในปัจจุบัน”
(อ้างอิงจาก หมอชาวบ้าน อ่านเพิ่มเติมที่นี่)
ที่น่าเจ็บใจก็คือ เป็นสาเหตุเดียวที่สามารถหลีกเลี่ยงหรือป้องกันได้ แต่คนจำนวนมากก็ไม่หลีกและไม่เลี่ยง
มีการศึกษาเด็กที่เสียชีวิตจากอุบัติเหต พบว่าเริ่มมีคราบไขมันเกาะตามผนังหลดเลือดตั้งแต่เด็ก แสดงว่ากระบวนการของการเกิดโรคหลอดเลือดตีบเริ่มตั้งแต่ในวัยเด็ก และจากสถิติพบว่าแต่ละประเทศมีเด็กอ้วนในปริมาณที่เพิ่มมากขึ้น พร้อมๆกับการที่เด็กมีเวลาออกกำลังกายลดลง และรับประทานอาหารที่ไม่มีคุณภาพ (อ่านเพิ่มเติมที่นี่)
พฤติกรรมต่างๆ ที่กล่าวข้างต้น ไม่เพียงจะเกิดกับประชาชนทั่วไปเท่านั้น บุคลากรในหน่วยงานด้านสาธารณสุข เช่นในกระทรวงสาธารณสุข ก็เป็นอีกหนึ่งกลุ่ม ที่เกิดภาวะอ้วนลงพุง ซึ่งมักเกิดกับบางกลุ่มงานวิชาการ ที่ต้องนั่งคิด นั่งเขียนประจำโต๊ะทำงาน
จากข้อมูลการศึกษาวิจัยของสถานพยาบาลของกรมการแพทย์ ติดตามอ่านในหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ด้านล่าง
ชมวีดิโอ